Category Archives: เทศบาลนครแหลมฉบัง

เทศบาลนครแหลมฉบัง

เทศบาลนครแหลมฉบัง is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search  by address the focus keyword name in category.

เทศบาลนครแหลมฉบัง

เทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งเพื่อรองรับการเป็นเมืองท่าพาณิชย์หลักของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลนครเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[2][3]

ประวัติ[แก้]

จากบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2534 ให้เหตุผลว่า พื้นที่ในตำบลทุ่งสุขลาและพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลหนองขาม ตำบลบึง อำเภอศรีราชา และพื้นที่บางส่วนของตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกอันเป็นท่าเรือพาณิชย์หลักของประเทศ ตลอดจนเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมและศูนย์พาณิชยกรรมเพื่อการส่งออกตามโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมควรจัดตั้งท้องถิ่นในเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็น เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ด้วยการยกฐานะพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลอ่าวอุดม อำเภอศรีราชา และพื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง ขึ้นเป็นเขตเทศบาล เพื่อให้เป็นองค์กรการปกครองท้องถิ่นทำหน้าที่ควบคุมและบังคับใช้แผนพัฒนาเมือง ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่จะให้บริการสังคมแก่ชุมชนและการดำเนินกิจการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ กับให้ประชาชนได้ปกครองดูแลและทำนุบำรุงท้องถิ่นของตน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลนครแหลมฉบังตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชาและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 109.65 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของพื้นที่จังหวัดชลบุรี

  1. พื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลอ่าวอุดม มีพื้นที่จำนวน 72.56 ตารางกิโลเมตร รวม 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน ประชากร ณ สิ้นปี 2561 จำนวน 73,807 คน
  2. พื้นที่บางส่วนของสุขาภิบาลบางละมุง มีพื้นที่จำนวน 16.03 ตารางกิโลเมตร รวม 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชากร ณ สิ้นปี 2561 จำนวน 14,464 คน
  3. พื้นน้ำ (ทะเล) มีพื้นที่จำนวน 21.06 ตารางกิโลเมตร ทางด้านตะวันตกของเขตเทศบาล

โดยเทศบาลนครแหลมฉบังมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

การปกครอง[แก้]

รายนามนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง[แก้]

รายนามนายกเทศมนตรีเทศบาลนครแหลมฉบัง
ลำดับ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ 3 มกราคม 2535 – 13 พฤษภาคม 2553 นายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง
รักษาการ นายชุมพจน์ มีวุฒิสม 14 พฤษภาคม 2553 – 23 พฤษภาคม 2553 ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง (เนื่องจากหมดวาระ)
รักษาการ นายชุมพจน์ มีวุฒิสม 24 พฤษภาคม 2553 – 30 กันยายน 2553 ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง (เนื่องจากยกฐานะเป็นเทศบาลนคร)
รักษาการ นายภูษิต แจ่มศรี 1 ตุลาคม 2553 – 8 ธันวาคม 2553 รองปลัดเทศบาล รักษาราชการแทนปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง (เนื่องจากปลัดเทศบาลเกษียณอายุราชการ)
2 นายภูษิต แจ่มศรี 9 ธันวาคม 2553 – 13 พฤศจิกายน 2557 ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง (ตามคำสั่ง คสช.)
3 นางจินดา ถนอมรอด 14 พฤศจิกายน 2557 – 9 กุมภาพันธ์ 2558 นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง
*3 นางจินดา ถนอมรอด 10 กุมภาพันธ์ 2558 – ปัจจุบัน นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง (ตามคำสั่งจังหวัดชลบุรี)

ชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง[แก้]

ชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง
ชุมชน พื้นที่การปกครอง ประธานกรรมการชุมชน
1. ชุมชนบ้านอ่าวอุดม หมู่ 1 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นางสุนันท์ เสียงดัง
2. ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ 2 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายวิสิษฐ์ พุทธตรัส
3. ชุมชนบ้านแหลมฉบัง หมู่ 3 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายอัมพร คชรัตน์
4. ชุมชนบ้านนาเก่า หมู่ 4-5 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายสรวิช สังข์แดง
5. ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ หมู่ 6 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายไพบูลย์ กัญญาคำ
6. ชุมชนตลาดอ่าวอุดม หมู่ 7 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายเสถียร เอกจรัสภิวัฒน์
7. ชุมชนบ้านชากยายจีน หมู่ 8 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายแดง กลิ่นหอม
8. ชุมชนมโนรม หมู่ 9 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นางสมสิน สิทธิศรี
9. ชุมชนบ้านแหลมทอง หมู่ 10 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นางสาวสายัณ ขวัญเมือง
10. ชุมชนบ้านห้วยเล็ก หมู่ 11-12 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายนเรศ บุญครอง
11. ชุมชนวัดพระประทานพร หมู่ 9 ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายสมเพลิน สีเกิด
12. ชุมชนบ้านหนองมะนาว หมู่ 4 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นายวัชรินทร์ เกื้อกูลธรรมกุล
13. ชุมชนบ้านนาใหม่ หมู่ 6 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นายนันทชัย ชูสาลี
14. ชุมชนบ้านหนองพังพวย หมู่ 7 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นางสาวสุนันท์ หอมกรุ่น
15. ชุมชนบ้านทุ่งกราด หมู่ 8 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นายณรงค์ นิลทคช
16. ชุมชนบ้านบางละมุง หมู่ 9 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นายประภาส มุ่งหาเงิน
17. ชุมชนบ้านหนองขาม หมู่ 11 ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายสงกรานต์ พงษนภา
18. ชุมชนบ้านชากกระปอก หมู่ 11 ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายมานพ อิ่มเอิบ
19. ชุมชนบ้านจุกกะเฌอ หมู่ 1 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายทวี สังข์ทอง
20. ชุมชนบ้านไร่หนึ่ง หมู่ 5 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายละออก สุมทรสินธุ์
21. ชุมชนบ้านหนองคล้าใหม่ หมู่ 9 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายสมพงษ์ กล่อมบรรจง
22. ชุมชนบ้านเศรษฐีในฝัน หมู่ 9-10 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายเพลิน สามงามนุ
23. ชุมชนบ้านหนองคล้าเก่า หมู่ 10 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายประวิก ทองปาน

ประชากร[แก้]

ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 คนในแต่ละวัน ในขณะที่สถิติของสำนักงานทะเบียนราษฎรท้องถิ่นเทศบาลนครแหลมฉบัง มีจำนวน 86,833 คน แยกเป็นชาย 42,666 คน หญิง 44,167 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นประชากรแฝงประมาณ 40,000 คนที่เข้ามาทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือแหลมฉบัง และเครือสหพัฒน์ฯ และที่อื่น ๆ โดยที่ไม่มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรและประมง

ศาสนสถาน[แก้]

ภายในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังมีวัด จำนวน 16 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง และศาลเจ้า 6 แห่ง

การศึกษา[แก้]

ภายในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง มีสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

  1. โรงเรียนสังกัดเทศบาล จำนวน 3 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง – เช็ง พรประภา) และ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3
  2. โรงเรียนสังกัด สปช. จำนวน 10 แห่ง คือ โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนวัดแหลมฉบัง โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนบ้านชากยายจีน โรงเรียนวัดบ้านนา (ฟินวิทยาคม) โรงเรียนวัดพระประทานพร โรงเรียนบ้านบางละมุง โรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม โรงเรียนบ้านทุ่งกราด และโรงเรียนวัดหนองคล้า
  3. โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์”
  4. โรงเรียนเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบุญจิตวิทยา และโรงเรียนทนาพรวิทยา
  5. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 3 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคโนโลยีแหลมฉบัง วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง และวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา
  6. สถาบันอุดมศึกษา 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

การสาธารณสุข[แก้]

ภายในเทศบาลนครแหลมฉบัง มีสถานพยาบาลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้

  1. โรงพยาบาลรัฐบาล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลแหลมฉบัง (ชื่อเดิม โรงพยาบาลอ่าวอุดม)
  2. โรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง คือ 

    เทศบาลนครแหลมฉบัง แพนเนล พียู

    ท่าเรือแหลมฉบัง หลังคา พียู ลายไม้

    ท่าเรือแหลมฉบัง หลังคา แซนวิช พียู โฟม

    ท่าเรือแหลมฉบัง หลังคา แซนวิช พียู โฟม ท่าเรือแหลมฉบัง […]

    เทศบาลแหลมฉบัง หลังคา แซนวิช พียู โฟม

    เทศบาลแหลมฉบัง หลังคา แซนวิช พียู โฟม เทศบาลแหลมฉบัง หล […]

    นิคมแหลมฉบัง หลังคา แซนวิช พียู โฟม

    นิคมแหลมฉบัง หลังคา แซนวิช พียู โฟม นิคมแหลมฉบัง หลังคา […]

    กลุ่มปิโตรเลียม หลังคา แซนวิช พียู โฟม

    กลุ่มปิโตรเลียม หลังคา แซนวิช พียู โฟม กลุ่มปิโตรเลียม […]

    เครือสหพัฒน์ฯ หลังคา แซนวิช พียู โฟม

    เครือสหพัฒน์ฯ หลังคา แซนวิช พียู โฟม เครือสหพัฒน์ฯ หลัง […]

    ถนนนครชัยศรี หลังคา พียู โฟม

    ถนนนครชัยศรี หลังคา พียู โฟม ถนนนครชัยศรี หลังคา พียู โ […]

Call Now Button