Category Archives: ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
ถนนสุขุมวิท เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งในเขตวัฒนา
เขตวัฒนา Khet Watthawa is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
เขตวัฒนา – วิกิพีเดีย
สำนักงานเขตวัฒนา – กรุงเทพมหานคร
เอ็มเค เมทัลชีท (MK Metalsheet)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
|
เขตวัฒนา
|
|
---|---|
![]() |
|
คำขวัญ: เศรษฐกิจฟูเฟื่อง ร้านอาหารเลื่องชื่อ การท่องเที่ยวระบือ ธ ประทานชื่อเขตวัฒนา | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′32″N 100°35′9″E | |
อักษรไทย | เขตวัฒนา |
อักษรโรมัน | Khet Vadhana; Khet Watthana |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.565 ตร.กม. (4.851 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 85,642[1] |
• ความหนาแน่น | 6,815.91 คน/ตร.กม. (17,653.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10110, 10260 (แขวงพระโขนงเหนือ เฉพาะซอยสุขุมวิท 73-75/1, 77/1-81 และถนนอ่อนนุช เลขคี่ 1-299 เลขคู่ 2-252) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1039 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
อาคารลิเบอร์ตี้พลาซ่า ชั้น 6-8 เลขที่ 1000/29-34 ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/vadhana |
![]() |
เขตวัฒนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต
เนื้อหา
- 1ที่ตั้งและอาณาเขต
- 2ที่มาของชื่อเขต
- 3ประวัติศาสตร์
- 4การแบ่งเขตการปกครอง
- 5ประชากร
- 6การคมนาคม
- 7สถานที่ต่าง ๆ
- 8สถานศึกษา
- 8.1อุดมศึกษา
- 8.2โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- 8.3โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.1-6)
- 8.4โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย-มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- 8.5โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
- 8.6โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
- 8.7อาชีวศึกษา
- 8.8กศน
- 9เหตุการณ์สำคัญ
- 10อ้างอิง
- 11แหล่งข้อมูลอื่น
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตริมฟากถนนสุขุมวิทฝั่งเลขคี่ ตั้งแต่ซอยสุขุมวิท 1 ถึงซอยสุขุมวิท 81 โดยติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตห้วยขวาง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีคลองตัน คลองพระโขนง และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและเขตคลองเตย มีซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์) และถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีแนวเขตทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อเขต วัฒนา เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2540[2]
ประวัติศาสตร์[แก้]
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีประกาศกรุงเทพมหานครให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย เป็นเขตคลองเตย และเขตคลองเตย สาขา 1 แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 แขวง โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขต โดยให้พื้นที่แขวงทางทิศเหนือของถนนสุขุมวิท ประกอบด้วยแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ เป็นพื้นที่ของสำนักงานเขตคลองเตยสาขา 1 ส่วนเขตการปกครองด้านทิศใต้ ประกอบด้วยแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง เป็นพื้นที่เขตการปกครองของเขตคลองเตย (ปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย และแต่งตั้งเขตคลองเตย สาขา 1 เป็นเขตวัฒนา ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ท้องที่สำนักงานเขตวัฒนาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองเตยเหนือ | Khlong Toei Nuea |
2.109
|
8,804
|
16,304
|
4,174.49
|
คลองตันเหนือ | Khlong Tan Nuea |
7.031
|
54,434
|
36,715
|
7,741.99
|
พระโขนงเหนือ | Phra Khanong Nuea |
3.425
|
22,404
|
19,920
|
6,541.31
|
ทั้งหมด |
12.565
|
85,642
|
72,939
|
6,815.91
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตวัฒนา[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21)
- ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)
- ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77)
- ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ)
- ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ)
- ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย)
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางสายรอง
|
|
- ระบบขนส่งมวลชน
- สถานีเอกมัย-สถานีทองหล่อ-สถานีพระโขนง-สถานีอโศกและสถานีพร้อมพงษ์ของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท
- สถานีสุขุมวิทของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สถานที่ต่าง ๆ[แก้]
- โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท