Category Archives: คลองบางระมาด

คลองบางระมาด

คลองบางระมาด  เป็นคลองใช้สัญจรทางน้ำและเป็นคลองระบายน้ำสายหนึ่งใน เขตตลิ่งชัน

ตลิ่งชัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า “ฝั่งธนบุรี” สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม

LINE: @MKMETALSHEET; 087-808-7771

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตตลิ่งชันตั้งอยู่ทางทิศเหนือของฝั่งธนบุรี และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

เขตตลิ่งชันเดิมเป็นอำเภอเก่าแก่อยู่ในพื้นที่การปกครองของจังหวัดธนบุรีมีชื่อว่า อำเภอตลิ่งชัน ตั้งที่ว่าการอยู่บริเวณคลองบางกอกน้อย ตำบลบางบำหรุ ท้องที่อำเภอบางกอกน้อย ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ปากคลองวัดไก่เตี้ย ริมคลองบางกอกน้อย และใน พ.ศ. 2457 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ริมทางรถไฟสายใต้ ตำบลคลองชักพระ

ตำบลคลองชักพระเป็นตำบลเดียวของอำเภอตลิ่งชันที่อยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2479) แต่เนื่องจากอำเภอตลิ่งชันมีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรเพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศจัดตั้งตำบลทวีวัฒนาแยกจากตำบลศาลาธรรมสพน์ใน พ.ศ. 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลตลิ่งชันครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลิ่งชันใน พ.ศ. 2504 รวมทั้งตั้งตำบลบางพรมขึ้นโดยแยกพื้นที่จากตำบลบางเชือกหนังใน พ.ศ. 2512 และตั้งตำบลฉิมพลีแยกพื้นที่จากตำบลตลิ่งชันใน พ.ศ. 2513 อำเภอตลิ่งชันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล และประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง[2]

ภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและต่อมาเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอตลิ่งชันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตตลิ่งชัน ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวงตามไปด้วย จนกระทั่งในใน พ.ศ. 2541 พื้นที่เขตทางฟากตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษกได้ถูกแบ่งออกไปจัดตั้งเป็นเขตใหม่คือเขตทวีวัฒนา ทุกวันนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตก็ยังคงเป็นพื้นที่เกษตร ได้แก่ สวนผัก สวนผลไม้ โดยผลไม้ดั้งเดิมชนิดหนึ่งของที่นี่คือมะเฟือง[3] ในปัจจุบันเริ่มมีการสร้างบ้านจัดสรรเพิ่มขึ้น แต่ผู้คนบางส่วนก็ยังสัญจรไปมาทางน้ำโดยการใช้เรืออยู่[4]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตตลิ่งชันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2565)
แผนที่
1.
คลองชักพระ Khlong Chak Phra
1.251
9,686
7,742.61
แผนที่
2.
ตลิ่งชัน Taling Chan
5.183
23,703
4,573.22
3.
ฉิมพลี Chimphli
7.338
23,397
3,188.47
4.
บางพรม Bang Phrom
4.253
13,177
3,098.28
5.
บางระมาด Bang Ramat
8.539
19,818
2,320.88
7.
บางเชือกหนัง Bang Chueak Nang
2.915
12,021
4,123.84
ทั้งหมด
29.479
101,802
3,453.37

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตทวีวัฒนา

ประชากร[แก้]

ประเพณี[แก้]

ประเพณีชักพระที่คลองชักพระ บริเวณวัดช่างเหล็ก

เขตตลิ่งชันมีประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดมายาวนานคือประเพณีชักพระ ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 หรือหลังวันลอยกระทง 2 วัน ประเพณีนี้อยู่ในคำขวัญประจำเขตว่า “คู่ขนานลอยฟ้า พาสู่ตลิ่งชัน เขตขัณฑ์ไม้งาม ตลาดน้ำขึ้นชื่อ เลื่องลือประเพณีชักพระ”[6]

การคมนาคม[แก้]

ทางบก[แก้]

ปัจจุบันในพื้นที่เขตตลิ่งชันมีทางสายหลักอยู่ 5 สาย คือ ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 และ ทางพิเศษศรีรัช

ส่วนทางสายรองนั้นมีอยู่ทั่วไป และเข้าถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขต ได้แก่ ถนนฉิมพลี ถนนทุ่งมังกร ถนนสวนผัก ถนนบางพรม ถนนชักพระ ถนนบางระมาด ถนนบางเชือกหนัง ถนนแก้วเงินทอง ถนนชัยพฤกษ์ ถนนปากน้ำฝั่งเหนือ และถนนปากน้ำกระโจมทอง ซึ่งตามริมถนนทั้งสายหลักและรองดังกล่าวก็ยังมีตรอกซอกซอยแยกย่อยออกไปอีก

ทางน้ำ[แก้]

ทางราง[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

เขตตลิ่งชันมีตลาดน้ำอยู่หลายแห่ง คือ ตลาดน้ำสองคลอง วัดตลิ่งชัน ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำวัดจำปา และตลาดน้ำวัดสะพาน[7]

วัดในเขตตลิ่งชันมีอายุเก่าแก่ขึ้นไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ดังปรากฏหลักฐาน เช่น พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้นที่วัดแก้วและวัดสะพาน ศิลปะวัตถุในสมัยอยุธยาตอนกลางถึงปลาย ได้แก่ วัดตลิ่งชัน วัดมณฑป วัดทองฉิมพลี วัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร วัดกาญจนสิงหาสน์วรวิหาร วัดแก้ว วัดเทพพล วัดอินทราวาส วัดเพลง (กลางสวน) วัดสะพาน วัดพิกุล วัดนครป่าหมาก และวัดน้อยใน ทว่าวัดเหล่านี้ได้รับการปฏิสังขรณ์อย่างหนักจนแทบไม่เหลือเค้าศิลปะอยุธยา[8]

สถานที่ราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) (สายใต้) เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 2

สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ได้แก่ สวนน้ำตลิ่งชัน และสวนมณฑลภิรมย์

Call Now Button