Category Archives: คริสตจักรที่ 1 สำเหร่

คริสตจักรที่ 1 สำเหร่

คริสตจักรที่ 1 สำเหร่ (อังกฤษThe First Presbyterian Church of Bangkok) เป็นโบสถ์คริสต์ของนิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 37 ซอยเจริญนคร 59 ถนนเจริญนคร แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นคริสตจักรแห่งแรกของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (The American Presbyterian Mission) ซึ่งมิชชันนารีคณะนี้ได้เริ่มวางรากฐานการเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

LINE: @MKMETALSHEET; 087-808-7771

มิชชันนารีโปรเตสแตนท์ยุคบุกเบิกรุ่นแรก[แก้]

ค.ศ. 1828 ศาสนาจารย์นายแพทย์ คาร์ล เฟรเดอริค ออกัสตัส กุ๊ตสลาฟ (Dr.Karl Frederick Augustus Gustaff) และศาสนาจารย์จาคอบ ทอมลิน (Rev. Jacob Tomlin) เป็นมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ 2 ท่านแรก ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมามิชชันนารีจากคณะอื่น ๆ เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง คือคณะอเมริกันแบ๊บติสต์ได้ส่ง ศจ.เทเลอร์ โจนน์ เข้ามาในปี ค.ศ. 1833 คณะอเมริกันบอร์ด ได้ส่ง ศจ .ชาร์ล โรบินสัน และ ศจ.สตีเฟน จอห์สัน เข้ามาในปี ค.ศ. 1834 แต่การประกาศศาสนาในประเทศไทยขณะนั้นยังมีความยากลำบากต้องประสบกับการต่อต้านต่าง ๆ นานา มิชชันนารีบางท่านเจ็บป่วยด้วยโรคในเขตร้อน เช่น อหิวาตกโรค ทำให้หลายคณะต้องล้มเลิกการประกาศศาสนาในประเทศไทย

การเข้ามาของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน[แก้]

ค.ศ. 1840 คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนได้ส่ง ศจ.วิลเลียม พี บูแอล (William P. Buell) และภรรยาเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแต่มาพำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่นานภรรยาท่านก็เจ็บป่วยทำให้ต้องเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา งานของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนได้เริ่มวางฐานรากอย่างถาวร และจริงจัง โดยการเข้ามาของ ศจ.สตีเฟน แมตตูน (Rev. Stephen Mattoon, D.D.)[1] และภรรยา (Mary Lourie Mattoon) กับ ศจ. ซามูแอล เรโนล์ เฮาส์ (Rev. Samuel Reynolds House, M.D.)[2] ในปี ค.ศ.1847 ชาวไทย เรียกหมอแมตตูนว่า “หมอมะตูม” และหมอเฮาส์ว่า “หมอเหา” มิชชันนารีกลุ่มนี้ยังพักอาศัยร่วมอยู่กับมิชชันนารีกลุ่มอื่นที่บริเวณปากคลองบางหลวงและยังไม่ได้สร้างพระวิหารสำหรับนมัสการแต่ประการใด ค.ศ. 1849 ศจ.สตีเฟน บุช (Rev.Stephen Bush)และภรรยา เดินทางมาสบทบ

การตั้งคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 กรุงเทพ[แก้]

ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1849[3] คณะมิชชันนารี 5 คน ประกอบด้วย ศจ. สตีเฟน แมตตูนและภรรยา ศจ. สตีเฟน บุช และภรรยา และศจ. ซามูเอล เรโนล์ เฮาส์ ได้ประชุมอธิษฐานร่วมกันก่อตั้งคริสตจักรขึ้น เรียกว่าคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 กรุงเทพฯ โดยให้บ้านพักของมิชชั่นนารีบริเวณกุฎีจีน (หลังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร) เป็นสถานที่นมัสการ โดยมี ศจ. สตีเฟน แมตตูน เป็นศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรแห่งนี้

หลังจากตั้งคริสตจักรไม่กี่วัน คณะมิชชั่นก็ได้มีโอกาสต้อนรับสมาชิกคนแรก (Chinese Christian) คือ ท่านซินแส กีเอ็ง ก๊วยเซียน (Quasien Kieng) เดิมท่านซินแส เป็นคริสเตียนในสังกัดของคณะอเมริกันบอร์ด (A.B.C.F.M.) ต่อมามิชชั่นคณะนั้นได้โยกย้ายจากสยามไปทำงานในประเทศจีน ท่านซินแสจึงย้ายสมาชิกภาพเข้ามาสังกัดคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน (ท่านเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนชายสมัยนั้น ที่ต่อมาคือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย)[4]

ย้ายมาสำเหร่[แก้]

ค.ศ.1857 ได้ย้ายบ้านพักมิชชันนารี โรงเรียน สถานที่ทำงาน จากกุฎีจีนมาที่สำเหร่เพราะมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าและเพื่อรองรับการขยายการทำงานในอนาคต วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1859 “นายชื่น” เป็นคนไทยคนแรกที่รับเชื่อโดยการประกาศของคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน[5]

สร้างพระวิหารหลังแรก[แก้]

ค.ศ. 1860 ได้เริ่มสร้างพระวิหารหลังแรกโดยการเรี่ยไรเงินจากพ่อค้ากะลาสี ทูต และชาวต่างประเทศที่พำนักในประเทศไทย และยังได้เรี่ยไรประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ใช้เงินในการก่อสร้าง 700 ดอลลาร์ และมีพิธีมอบถวายในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1862 นับนั้นเป็นต้นมาคริสตจักรที่ 1 สำเหร่ ก็เป็นศูนย์กลางการทำงานของมิชชั่นนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ค.ศ. 1890 ศาสนาจารย์ จอห์น เอ เอกิ้น ได้ย้ายโรงเรียนของท่านจากกุฎีจีนมารวมกับโรงเรียนของมิชชั่นที่สำเหร่ และใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสำเหร่บอยส์คริสเตียนไฮสคูล” ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1902 โรงเรียนนี้ย้ายมาที่ถนนประมวญและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย” ในเวลาต่อมา

ศิษยาภิบาลคนไทยคนแรกของคริสตจักร[แก้]

วันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1896 คริสตจักรได้สถาปนา ศบ.ย่วญ เตียงหยก เป็นศิษยาภิบาลประจำคริสตจักรนับเป็นศิษยาภิบาลคนไทยคนแรกของคริสตจักร ค.ศ. 1902 ผป.ปลีก อุนยะวงษ์ ก่อตั้งคณะ King’s Daughters หรือคณะราชธิดาแห่งคริสตจักร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคณะสตรีคริสเตียนของคริสตจักรในเวลาต่อมา

สร้างพระวิหารหลังปัจจุบัน[แก้]

ค.ศ. 1910 สร้างพระวิหารปัจจุบัน โดยรื้อพระวิหารหลังเดิมลง และสร้างบนที่เดิม และยังคงรูปแบบสถาปัตยากรรมของพระวิหารหลังแรกไว้ เงินที่ใช้ในการก่อสร้างมาจากการเรี่ยไรสมาชิกของคริสตจักรใช้เงินก่อสร้างมากกว่า 7,000 บาท มีพิธีมอบถวายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1910 ซึ่งพระวิหารนี้ยังคงใช้นมัสการพระเจ้ามาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ค.ศ.1912 สร้างหอระฆัง ค.ศ. 1963 สร้างศาลาเตียงหยก ค.ศ. 1988 ขยายพระวิหารให้ยาวกว่าเดิม 3.50 เมตร ส่วนบริเวณธรรมาสน์ได้ขยายออกไปอีก 4.50 เมตร เพื่อรองรับจำนวนผู้มานมัสการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

Call Now Button