Category Archives: ตำบลบ้านเก่า

ตำบลบ้านเก่า

ตำบลบ้านเก่า is the position for activity in post be presented at the first rank on Google page search by this category focus keyphrase.

ตำบลบ้านเก่า เป็นตำบลหนึ่ง ใน 11 ตำบลของอำเภอพานทอง

อำเภอพานทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อพ.ศ. 2441 เดิมชื่อ อำเภอท่าตะกูด ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1] มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 10 ของจังหวัด (รองลงมาจากอำเภอเกาะสีชัง) มีประชากรมากเป็นอันดับ 7 ของจังหวัด และมีความหนาแน่นของประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัด

ประวัติ[แก้]

สมัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พระยศในขณะนั้น : พระยาวชิรปราการ) ทรงนำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนครัวเรือนรายทางมาตั้งเมืองและค่ายทหารชั่วคราวที่เมืองโป่งตามุข เป็นเมืองควบคุมหัวเมืองชายทะเล มีเจ้าเมือง ศาลและเรือนจำ สำหรับใช้เป็นที่ปกครองชำระคดีความ (ปัจจุบันตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณวัดโป่งตามุข ตำบลหนองหงษ์ อำเภอพานทอง) สมัยนั้นมีพรานป่าคนหนึ่งชื่อทองเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพครอบครัวและญาติพี่น้องหนีพม่ามาตั้งภูมิลำเนาทำมาหากินเลี้ยงชีพในทางล่าสัตว์อยู่ที่หมู่บ้านริมคลองซึ่งแยกจากคลองบางปะกง (ปัจจุบันเรียกคลองพานทอง,ระหว่างตำบลบ้านเก่ากับตำบลบางนาง) นายพรานทองได้ทำหน้าที่เป็นจารชนสืบข่าวของข้าศึกให้พระยาวชิรปราการและได้รวบรวมกำลังกู้เอกราชเมื่อเสร็จศึกสงคราม นายพรานทองจึงได้สร้างวัดขึ้นห่างจากหมู่บ้านของตนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร ณ ริมคลองสายเดียวกัน ชื่อว่า “วัดพรานทอง” นัยว่าเพื่อเป็นการล้างบาปที่ตนเองมีอาชีพพรานป่าและได้อพยพครอบครัวมาประกอบอาชีพเป็นหลักฐานอยู่ในบริเวณใกล้วัดพรานทอง ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านพรานทอง” และเรียกคลองซึ่งแยกจากคลองบางปะกงว่า “คลองพรานทอง” แต่ด้วยเหตุที่ชาวบ้านออกเสียงควบกล้ำ ร. ไม่ชัดเจน ฉะนั้นคำว่า “วัดพรานทอง” “บ้านพรานทอง” และ “คลองพรานทอง” ได้เพี้ยนเป็น “วัดพานทอง” “บ้านพานทอง” และ “คลองพานทอง” ดังในปัจจุบัน

พ.ศ. 2371 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มชาวลาวอาสาปากน้ำ จัดตั้งเมืองพนัสนิคม เป็นเมืองชั้นจัตวา สังกัดกรมท่า โดยบ้านท่าตะกูด บ้านพานทองและบ้านเก่าอยู่ในอาณาเขตเมืองพนัสนิคม ผลผลิตทางการเกษตรจากตลาดพนัสนิคมยุคแรกถูกขนส่งมาทางเรือในฤดูน้ำหลากมารวมกันที่บ้านท่าตะกูด อันเป็นท่าน้ำขนถ่ายสินค้าและการคมนาคมที่สำคัญของเมืองพนัสนิคม

พ.ศ. 2441 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีการปฏิรูปการปกครองประเทศและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอพนัสนิคมขึ้นกับเมืองชลบุรี มณฑลปราจีน และบ้านท่าตะกูดมีชุมชนและประชากรเพิ่มขึ้นจึงยกฐานะเป็นอำเภอเรียกชื่อว่าอำเภอท่าตะกูด ขึ้นกับเมืองชลบุรี มณฑลปราจีนบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 15 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านมาบโป่ง[2][3] ตำบลบ้านเกาะลอย[4][5] ตำบลบ้านบางนาง[6][7] ตำบลตลาดควาย[8][9] ตำบลบ้านหน้าประดู่[10][11] ตำบลบ้านบางหัก[12][13] ตำบลบ้านเนินถ่อน[14][15] ตำบลบ้านบางพึ่ง[16][17] ตำบลบ้านหนองหงษ์[18] ตำบลบ้านพานทอง[19] ตำบลบ้านมอญ[20][21] ตำบลบ้านหนองกะขะ[22] ตำบลบ้านมาบกระบก[23] ตำบลหนองจับอึ่ง[24] และตำบลหนองตำลึง

ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนการปกครองตำบลให้เหมาะสม โดยได้ยุบตำบลบ้านมาบกระบก และตำบลหนองจับอึ่ง รวมกับตำบลหนองตำลึง ยุบตำบลตลาดควาย และตำบลบ้านบางหัก รวมกับตำบลบ้านเกาะลอย ยุบตำบลบ้านเนินถ่อน และตำบลหน้าประดู่ รวมกับตำบลพานทอง และในปี พ.ศ. 2490 ก็ได้จัดตั้งตำบลบางหัก ที่เคยยุบรวมกับตำบลเกาะลอย และตั้งตำบลหน้าประดู่ ที่เคยยุบรวมกับตำบลพานทอง ขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ยังแบ่งท้องที่บางส่วนของตำบลบางนาง มาจัดตั้งเป็น ตำบลบ้านเก่า[25] ทำให้ปัจจุบันอำเภอพานทอง มีเขตการปกครองทั้งหมด 11 ตำบล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอท่าตะกูด จังหวัดชลบุรี เป็น อำเภอพานทอง[1]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2481 ตั้งตำบลหนองบอนแดง แยกออกจากตำบลหนองหงษ์ อำเภอพานทอง และตำบลหนองขยาด ตำบลหนองขวาง อำเภอพนัสนิคม และโอนไปขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี กับโอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองตำลึง อำเภอพานทอง ไปขึ้นกับตำบลมาบไผ่ กิ่งอำเภอบ้านบึง อำเภอเมืองชลบุรี[26]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหน้าประดู่ แยกออกจากตำบลพานทอง ตั้งตำบลบางหัก แยกออกจากตำบลเกาะลอย ตั้งตำบลบ้านเก่า แยกออกจากตำบลบางนาง[25]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพานทอง ในท้องที่บางส่วนของตำบลพานทอง[27]
  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2520 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองตำลึง ในท้องที่บางส่วนของตำบลมาบโป่ง ตำบลหนองกะขะ และตำบลหนองตำลึง[28]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพานทอง และสุขาภิบาลหนองตำลึง เป็นเทศบาลตำบลพานทอง และเทศบาลตำบลหนองตำลึง ตามลำดับ[29] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางหัก รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอย ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะขะ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลพานทอง[30] และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตำลึง รวมกับเทศบาลตำบลหนองตำลึง[31]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลพานทอง เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลพานทองหนองกะขะ[32]
  • วันที่ 27 สิงหาคม 2558 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอย เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก[33]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอพานทองตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพานทองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 52 หมู่บ้าน

1. พานทอง (Phan Thong) 10 หมู่บ้าน 7. บ้านเก่า (Ban Kao) 7 หมู่บ้าน
2. หนองตำลึง (Nong Tamlueng) 9 หมู่บ้าน 8. หน้าประดู่ (Na Pradu) 5 หมู่บ้าน
3. มาบโป่ง (Map Pong) 10 หมู่บ้าน 9. บางนาง (Bang Nang) 9 หมู่บ้าน
4. หนองกะขะ (Nong Kakha) 5 หมู่บ้าน 10. เกาะลอย (Ko Loi) 6 หมู่บ้าน
5. หนองหงษ์ (Nong Hong) 6 หมู่บ้าน 11. บางหัก (Bang Hak) 4 หมู่บ้าน
6. โคกขี้หนอน (Khok Khi Non) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอพานทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพานทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพานทอง (เฉพาะหมู่ที่ 4, 6 และบางส่วนของหมู่ที่ 2-3, 7-8, 10)
  • เทศบาลตำบลหนองตำลึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตำลึงทั้งตำบล บางส่วนของตำบลมาบโป่ง (เฉพาะหมู่ที่ 6-7) และบางส่วนตำบลหนองกะขะ (เฉพาะหมู่ที่ 1-2, 4)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพานทองหนองกะขะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพานทอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพานทอง) และตำบลหนองกะขะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองตำลึง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมาบโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบโป่ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองตำลึง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหงษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหงษ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกขี้หนอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเก่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าประดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าประดู่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางนางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอยบางหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลอย และตำบลบางหักทั้งตำบล
Call Now Button