Category Archives: ถนนกิ่งแก้ว

ถนนกิ่งแก้ว

ถนนกิ่งแก้ว is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.

ถนนกิ่งแก้ว  เป็นถนนเส้นหนึ่งในอำเภอบางพลี

ถนนกิ่งแก้ว (อักษรโรมันThanon King Kaeo) เป็นถนนสายหลักที่เชื่อมระหว่างถนนลาดกระบัง ถนนเทพรัตน และถนนเทพารักษ์เข้าด้วยกัน ถนนกิ่งแก้วแยกมาจากถนนลาดกระบังในท้องที่แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จากนั้นมุ่งลงทางทิศใต้เข้าสู่ท้องที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ไปบรรจบกับถนนเทพารักษ์ที่ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตรงข้ามกับถนนตำหรุ–บางพลี ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนกิ่งแก้วนั้นมีสะพานลอยคนข้ามทั้งหมด 11 สะพาน แต่ละสะพานนั้นจะมีการตั้งตัวละครในวรรณคดีมากมายบริเวณเกาะกลางอาทิเช่น ทศกัณฐ์ ไมยราพ แต่เดิมถนนแต่เดิมถนนเส้นนี้มีเพียง 2 ช่องทางจราจรตลอดเส้นทาง ซึ่งปัจจุบันตั้งแต่ลาดกระบังไปจนถึงแยกถนนวัดหนามแดงนั้นเป็นถนนขนาด 4–8 ช่องทางจราจร ยกเว้นบริเวณสะพานข้ามคลองสำโรง ถึงแยกถนนเทพารักษ์ (คลองขุด) จะมีแค่เพียง 6 ช่องทางจราจร และจากสะพานข้ามคลองสำโรงถึงถนนเทพารักษ์จะมีขนาด 6 ช่องทางจราจรอีกครั้ง ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีสะพานลอยข้ามถนนวัดหนามแดง คลองสำโรง และถนนเทพารักษ์ (แยกคลองขุด) เพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของสะพานลอยข้ามแยกคลองขุดนั้น กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างส่วนที่เหลือ ช่วงแยกถนนวัดหนามแดง–คลองสำโรง–ถนนเทพารักษ์ เชื่อมต่อถนนตำหรุ–บางพลี จนแล้วเสร็จและเปิดให้สัญจรเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 โดยตลอดระยะถนนกิ่งแก้วมีถนนที่สำคัญตัดผ่าน เช่น

  • ทางแยกเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (2 แห่ง) บริเวณถนนกิ่งแก้ว ช่วงกิโลเมตรที่ 12 (เป็นทางต่างระดับ) และกิโลเมตรที่ 17 (ไม่เปิดให้ใช้และไม่เป็นทางต่างระดับ)
  • ถนนเทพรัตน ด้านบนเป็นทางพิเศษบูรพาวิถี
  • ถนนวัดหนามแดง
  • อำเภอบางพลี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ตั้งของโครงการสร้างศูนย์ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบบครบวงจร และเป็นที่ตั้งของสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลทางเข้าวัดบัวโรย

    ประวัติศาสตร์[แก้]

    • พ.ศ. ………. ตั้งอำเภอบางพลี
    • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการได้ถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางพลีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร[1]
    • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอบางพลีกลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการเหมือนเดิม[2]
    • วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบางพลีในท้องที่บางส่วนของตำบลบางพลี[3]
    • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเสาธงในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเสาธงและบางส่วนของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่[4]
    • วันที่ 1 เมษายน 2538 แบ่งพื้นที่ตำบลบางเสาธง ตำบลศีรษะจรเข้น้อย และตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางเสาธง ขึ้นกับอำเภอบางพลี พร้อมกับโอนสุขาภิบาลบางเสาธงไปขึ้นกับกิ่งอำเภอบางเสาธง[5]
    • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางพลีเป็นเทศบาลตำบลบางพลี
    • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางเสาธงเป็น อำเภอบางเสาธง[6]

    ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

    • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร)
    • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางเสาธง มีถนนเข้าวัดหัวคู้ คลองหนองงูเห่า คลองบางนา ถนนวัดศรีวารีน้อย คลองเสาระหงษ์ คลองสำโรง คลองโก่งประทุน คลองลาดหวาย และคลองโก่งประทุนเป็นเส้นแบ่งเขต
    • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อและอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีคลองโก่งประทุนและคลองสามเป็นเส้นแบ่งเขต
    • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ เขตบางนา และเขตประเวศ (กรุงเทพมหานคร) มีคลองบางเหี้ยน้อย คลองบางกระบือ คลองกู้พารา คลองทับนาง คลองสำโรง ถนนศรีนครินทร์ คลองหนองกระทุ่ม คลองบางนา (สาหร่าย) คลองหนองตาดำ คลองปลัดเปรียง คลองต้นตาล แนวคันนาแบ่งเขตระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองสลุด คลองปากน้ำ คลองสิงห์โต คลองขันแตก และคลองตาพุกเป็นเส้นแบ่งเขต[ต้องการอ้างอิง]

    การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

    การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

    อำเภอบางพลีแบ่งเขตการปกครองย่อย ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 83 หมู่บ้าน ได้แก่

    1. บางพลีใหญ่ (Bang Phli Yai) 23 หมู่บ้าน 4. บางโฉลง (Bang Chalong) 11 หมู่บ้าน
    2. บางแก้ว (Bang Kaeo) 16 หมู่บ้าน 5. ราชาเทวะ (Racha Thewa) 15 หมู่บ้าน
    3. บางปลา (Bang Pla) 15 หมู่บ้าน 6. หนองปรือ (Nong Prue) 3 หมู่บ้าน

    การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

    ท้องที่อำเภอบางพลีประกอบด้วยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

    • เทศบาลตำบลบางพลี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางพลีใหญ่ หมู่ที่ 11 (บางส่วน) ตำบลบางปลา และตำบลบางโฉลง
    • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีใหญ่ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางพลี)
    • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล (กำลังจะได้รับการจัดเป็นเทศบาลเมืองในเร็วๆนี้)
    • องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1 – 10, 11 (บางส่วน), 12 – 15 ตำบลบางปลา (นอกเขตเทศบาลตำบลบางพลี)
    • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโฉลง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางพลี)
    • องค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราชาเทวะทั้งตำบล
    • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล

    สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

    บุคคลที่มีชื่อเสียงของอำเภอบางพลี[แก้]

    • นายฉาย รุ่งเรือง และนางขาบ รุ่งเรือง คหบดีชาวบางนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่อำเภอบางพลี และได้บริจาคทรัพย์เพื่อการสาธารณกุศลเป็นจำนวนมาก เช่น วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นต้น

    การคมนาคม[แก้]

    อำเภอบางพลีมีถนนสายหลัก ได้แก่

    ถนนสายรอง ได้แก่

    • ถนนวัดหนามแดง (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.4006)
    • ถนนจตุรโชคชัย (ซอยวัดหลวงพ่อโต)
    • ถนนวัดศรีวารีน้อย (ทางหลวงชนบทหมายเลข สป.2001)
    • ถนนจรรยวรรธ (รามคำแหง 2)
    • ถนนวัดบางปลา
    • ซอยวัดบางโฉลงนอก
    • ซอยบางปลา 2 (ธนสิทธิ์)
    • ถนนบัวนครินทร์
    • ซอยขจรวิทย์
    • ซอยที่ดินไท
    • ซอยบุญธรรมอนุสรณ์
Call Now Button